Sunday, February 27, 2011

มหาบุรุษจางจวีเจิ้ง

จาง จวีเจิ้งได้เผชิญประสบการณ์ความผันผวนอันร้ายกาจทางการเมืองนับแต่เริ่มรับราชการเมื่ออายุยี่สิบหกปีในรัชศกหลงชิ่ง ซึ่งการปกครองอ่อนแอและเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างกว้างขวาง ก่อนจะไต่เต่าขึ้นมาตามตำแหน่งเรื่อย ๆ ต่อมาจาง จวีเจิ้งได้ร่วมมือกับมหาอำมาตย์เกา ก่ง (จีน: 高拱; พินอิน: Gāo Gǒng) ในการบริหารราชการร่วมกัน ก่อนจะหันไปร่วมมือกับมหาขันทีชื่อ เฝิง เป่า (จีน: 馮保; พินอิน: Féng Bǎo) เพื่อบีบบังคับให้เกา ก่งออกจากราชการกลับไปยังบ้านเกิด และจาง จวีเจิ้งก็เข้าสวมตำแหน่งมหาอำมาตย์แทน




แม้จะได้ตำแหน่งมาโดยวิธีการอันมิชอบ ทว่า การบริหารอย่างประเสริฐ และรัฐประศาสโนบายอันเข้มแข็งด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจ ซึ่งจาง จวีเจิ้งดำเนินไปในระยะเวลาสิบปีของการอยู่ในตำแหน่งมหาอำมาตย์นั้น ส่งผลให้ยุคสมัยของเขารุ่งเรืองที่สุดในราชวงศ์หมิง จาง จวีเจิ้งเป็นที่ขึ้นชื่อในเรื่องการรวมศูนย์อำนาจการปกครอง การจำกัดเอกสิทธิ์ของชนชั้นสูง และการสำรวจที่ดินเพื่อปฏิรูประบบภาษี ในบั้นต้นรัชศกว่านลี่ซึ่งเสวยราชย์แต่ทรงพระเยาว์นั้น จาง จวีเจิ้งยังปฏิบัติหน้าที่สำคัญหลายประการ ทั้งเป็นพระอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นอาทิ ในฐานะพระอาจารย์นั้น จาง จวีเจิ้งมีอิทธิพลต่อพระมหากษัตริย์ และพยายามประคับประคองพระมหากษัตริย์ตลอดพระชันษาอันเยาว์วัยให้ตลอดรอดฝั่ง ทว่าเมื่อว่านลี่เจริญพระชันษาขึ้น กลับทรงเบื่อหน่ายและมีพระราชหฤทัยรังเกียจจาง จวีเจิ้งขึ้นโดยลำดับ เหตุว่ามีพระราชสันดานใฝ่ในกามราคะ และมีพระราชประสงค์จำนงหมายจะบริหารอำนาจการปกครองโดยลำพัง ขณะที่จาง จวีเจิ้งกลับคอยกวดขันพระราชจริยวัตรเป็นอาจิณ นอกจากนี้ จาง จวีเจิ้งยังมิอาจควบคุมรายจ่ายของราชสำนัก เหตุว่าว่านลี่ทรงใช้พระราชทรัพย์เปลืองไปในทางปรนเปรอพระองค์เป็นอันมาก[3][4]



เมื่อจาง จวีเจิ้งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1582 อันเนื่องมาจากความเหนื่อยล้าที่ทุ่มเทเพื่อแผ่นดินจนมิได้พักผ่อนติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ส่วนการปฏิรูปของจาง จวีเจิ้งที่กำลังไปได้ก็ดีนั้น ว่านลี่ก็มีพระราชโองการให้ยกเลิกบ้าง และไม่ทรงนำพาบ้าง ทั้งยังไม่ทรงปฏิบัติพระราชกิจเช่นที่เคย ไม่ทรงออกว่าราชการมากขึ้นโดยลำดับ กลับทรงแสวงแต่จะสำราญพระราชหฤทัย ทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์อย่างสุรุ่ยสุร่าย และขูดรีดประชาชนอย่างกว้างขวาง จนส่งผลให้ราชวงศ์หมิงล่มสลายอย่างช้า ๆ



อนึ่ง เมื่อจาง จวีเจิ้งถึงแก่อสัญกรรมแล้วไม่ถึงสองปีนั้น ว่านลี่ก็มีพระราชโองการให้ถอดยศจาง จวีเจิ้งย้อนหลัง ให้ทำลายป้ายเกียรติคุณและผลงานต่าง ๆ ของจาง จวีเจิ้ง ให้ประหารตระกูลจางทั้งตระกูล และให้ริบราชบาตรเสียสิ้น[3]



จนเมื่อเกือบครึ่งศตวรรษหลังจากนั้น ในรัชสมัยฉงเจิน ผู้ทรงพระราชอุตสาหะจะกอบกู้บ้านเมืองที่กำลังล่มจมลงอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปกครองอันเหลวแหลกโดยพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ หน้า ฉงเจินได้ทรงพระอนุสรถึงจาง จวีเจิ้ง และได้มีพระราชโองการให้คืนเกียรติยศทั้งปวงให้แก่จาง จวีเจิ้ง ให้อนุรักษ์บ้านพักที่เขาเคยอาศัยในมณฑลหูเป่ย์ และให้สร้างรูปเคารพของเขาไว้หน้าบ้าน ซึ่งปัจจุบันจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจาง จวีเจิ้ง[

บทสนทนาเรื่องตำราสี่เล่มใน ค.ศ. 1573 จาง จวีเจิ้งได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแก่ว่านลี่ซึ่งอรรถกถาตำราคำสอนขงจื๊อสี่เล่ม ขนานชื่อว่า "บทสนทนาเรื่องตำราสี่เล่ม" (จีน: 四书直解; พินอิน: Si Shu Zhijie; อังกฤษ: Colloquial Commentary on the Four Books) และอรรถกถาของจาง จวีเจิ้งได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในระหว่าง ค.ศ. 1573 ถึง ค.ศ. 1584




เมื่อจาง จวีเจิ้งถึงแก่อสัญกรรมแล้ว อรรถกถาดังกล่าวรอดพ้นจากการถูกล้างผลาญตามพระราชโองการของว่านลี่ และได้รับตีพิมพ์เผยแพร่อีกในราว ๆ ค.ศ. 1651 ถึง ค.ศ. 1683 ผู้อ่านต่างยกย่องว่าเป็นหนังสือดีอย่างประเสริฐเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน[6]



ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อรรถกถาดังกล่าวของจาง จวีเจิ้งก็เป็นที่เลื่องลือยิ่งขึ้น เมื่อคณะมิสชันนารีนิกายเยซูอิตเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในจีน เพราะจาง จวีเจิ้งตั้งใจเขียนให้เป็นปรัชญาสั่งสอนพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระเยาว์ในฐานะที่เป็นพระอาจารย์ โดยใช้ภาษาเรียบง่ายเพื่อให้เด็กอ่านแล้วเข้าใจ ชนิดเรียบง่ายยิ่งกว่าอรรถกถาที่ลัทธิขงจื๊อใหม่เขียนเผยแพร่ในภายหลัง ทำให้อรรถกถาของจาง จวีเจิ้งได้รับการอ้างถึงเป็นอันมาก และต่อมาก็ได้พิมพ์เผยแพร่ในกรุงปารีสเมื่อ ค.ศ. 1687[7]



[แก้] ในวรรณกรรม

ป้ายโฆษณาภาพยนตร์จีนชุด "ว่านลี่โชวโฝ่วจางจวีเจิ้ง"ในหนังสือสารคดีของ เรย์ หวง (อังกฤษ: Ray Huang) เรื่อง "1587 : อะเยียร์ออฟโนซิกนีฟีแคนซ์" (อังกฤษ: 1587: A Year of No Significance, "ค.ศ. 1587 ปีที่ไม่มีอะไรสำคัญ") จางจวีเจิ้งเป็นตัวละครเอก



ในวรรณกรรมอินเทอร์เน็ตอันเป็นที่นิยมมากในจีนแผ่นดินใหญ่ เรื่อง "เดอะหมิงไดนาสตีส์อีเวนส์" (อังกฤษ: The Ming Dynasty's Events, "เหตุการณ์บ้านเมืองหมิง") จางจวีเจิ้งก็เป็นตัวละครเอก



ใน ค.ศ. 2006 จีนแผ่นดินใหญ่ได้จัดทำภาพยนตร์ชุด เรื่อง "ว่านลี่โชวโฝ่วจางจวีเจิ้ง" (จีน: 万历首辅张居正; พินอิน: wàn lì shǒu fǔ zhāng jūzhèng, "มหาอำมาตย์จาง จวีเจิ้ง ของว่านลี่") ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Great Reformer" นำแสดงโดย ถัง กั๋วเฉียง และทีวีไทยนำออกฉายในประเทศไทยเมื่อกลาง ค.ศ. 2010 ให้ชื่อว่า "มหาบุรุษ จางจวีเจิ้ง"

Thursday, February 3, 2011

แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง

เรื่องย่อ แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง


เมื่อ 500 ปีที่ผ่านมา ในช่วงสมัยของราชวงศ์โชซอน ประเทศเกาหลียังคงปกครองด้วยกฎเกณฑ์ที่ผู้ชายมีอำนาจมากกว่าผู้หญิง แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง สร้างมาจากเรื่องจริงของประวัติศาสตร์เกาหลี นำเสนอเรื่องราวของ แดจังกึม หญิงสาวคนแรกของเกาหลีที่เป็นแพทย์รักษาอาการเจ็บป่วยให้กับเชื้อพระวงศ์ ในหลวง เธอเป็นเด็กที่เกิดในครอบครัวสามัญชนที่มีฐานะยากจน เธอได้สูญเสียพ่อแม่ไปตั้งแต่เด็ก แต่โชคก็ยังเข้าข้างเมื่อเธอได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาการปรุงอาหารในพระราช สำนัก ด้วยความที่เป็นเด็กฉลาดจึงทำให้เธอกลายเป็นแม่ครัวมือหนึ่งที่ได้รับความ ไว้วางใจจากเชื้อพระวงศ์

ต่อมาเธอถูกใส่ร้ายว่าวางยาพิษ กษัตริย์จุงจง จึงถูกขับไล่ออกจากวัง แต่ภายหลังเธอก็ได้ไปศึกษาวิชาแพทย์และสามารถกลับมารักษาพระองค์ได้ในที่สุด อย่างไรก็ดีเล่ห์กลของคนในวังและอำนาจทางการเมืองก็มักจะเป็นอุปสรรคให้เธอ ต้องฝ่าฟันอยู่เรื่อย หนำซ้ำเพื่อนที่เติบโตมาด้วยกันก็ยังกลายมาเป็นคู่แข่งที่สร้างปัญหาให้เธอ ตลอดเวลา แต่เธอก็ได้ใช้สติปัญญาต่อกรกับศัตรูที่มีอยู่มากมายในพระราชสำนัก เพื่อให้มาตรฐานทางสังคมเกิดความเท่าเทียมกัน ซึ่งในประวัติศาสตร์ของเกาหลี ไม่เคยมีสตรีผู้ใดทำได้เช่นเธอ





รายชื่อนักแสดง






ลียองเอ รับบท แดจังกึม



จีจินฮี รับบท มินจุงโฮ



ปักอุนฮุย รับบท เยินเซ็ง



ฮงลีนา รับบท แชกึมยอง



โชจินอุน รับบท แดจังกึม ( วัยเด็ก )



ยิมโฮ รับบท กษัตริย์จุงจง



ลองเมกิง รับบท ฮันซังกุง



ลีนิงซี รับบท ลองโน



จิงเมลี รับบท แชซังกุง



ลียุนจี รับบท ชองซังกุง

ต้องการดูซีรี่ย์อื่นๆ ไปที่คลับนะคะ


http://series_entertain.club.mthai.com

My Blog List